วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุดได้หรือไม่ ?

คนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุดได้หรือไม่ ? 



ได้ หากว่าการซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นการจัดซื้อเพื่อให้เป็นสินส่วนตัวของตนเอง แต่ทั้งนี้คนไทยผู้ขอซื้อ และคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติต้องมีหนังสือยืนยันเป็นหนังสือว่าเงินที่นำมาซื้อนั้นเป็นสินส่วนตัวของคนไทยผู้ขอซื้อ มิใช่สินสมรส ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลทั้งสองจะจดทะเบียนฯ หรือไม่ก็ตาม





· บุคคลสัญฃาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติและพำนักอยู่ในต่างประเทศ จะขอซื้อที่ดิน หรือขอรับโอนที่ดิน หรือ ขอซื้อห้องชุด ได้หรือไม่ ?

ได้

· ทำอย่างไร ? 

ให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างชาติไปติดต่อสถานทูตไทยเพื่อบันทึกถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษร และรับรองว่าบุคคลที่ทำหนังสือรับรองนั้นเป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยจริง และนำหนังสือรับรองนี้มามอบให้เจ้าพนักงานที่ดินที่จะทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยไม่ต้องใช้สำเนา




๙. คำถามเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทย

๙.๑ คำถาม คนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือบ้านที่อยู่อาศัยได้หรือไม่ 


คำตอบ
 ได้ ถ้าบุคคลสัญชาติไทยที่จดทะเบียนสมรสกับคนต่างด้าวยังถือสัญชาติไทยอยู่โดยมิได้
สละสัญชาติไทยแต่อย่างใด ก็มีสิทธิที่จะซื้อที่ดินและบ้านที่อยู่อาศัย โดยสำนักงานที่ดินจะให้คนไทยและคู่สมรสที่เป็นต่างด้าวยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันในหนังสือรับรองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ว่าด้วยเงินทั้งหมดที่นำมาซื้อที่ดินเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของคนไทยเพียงฝ่ายเดียว 


๙.๒ คำถาม คนต่างด้าวสามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้เพียงใด
 

คำตอบ
 คนต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ ยกเว้น ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินใน
ฐานะทายาทโดยชอบธรรม และต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ 

- เพื่ออยู่อาศัยต้องไม่เกิน ๑ ไร่/ครอบครัว
- เพื่อการพาณิชยกรรมต้องไม่เกิน ๑ ไร่
- เพื่อการอุตสาหกรรมต้องไม่เกิน ๑๐ ไร่
- เพื่อการเกษตรกรรมต้องไม่เกิน ๑๐ ไร่/ครอบครัว
- เพื่อการศาสนาต้องไม่เกิน ๑ ไร่
- เพื่อการกุศลและสาธารณะต้องไม่เกิน ๕ ไร่
- สุสานของตระกูลต้องไม่เกิน ½ ไร่
นอกจากนี้ นับแต่ปี ๒๕๔๒ คนต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า ๔๐ ล้านบาท สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน ๑ ไร่




ที่มา    ::    http://prinkotakoon.blogspot.co.uk/2012/07/blog-post_3054.html    ;    
                 สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น