วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คำแนะนำเรื่องชาวต่างชาติซื้อที่ดิน

คำแนะนำเรื่องชาวต่างชาติซื้อที่ดิน



ในกรณีนี้ปัจจุบันกฎหมายไทยยังไม่อนุญาตที่จะให้คนต่างด้าวมาถือครองที่ดินในเมืองไทยได้ครับ แต่จะมีการยกเว้นไว้ในกรณีนี้ คือการที่คนต่างด้าวที่จะถือครองที่ดินในประเทศไทยนั้นจะต้องมีการนำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า40ล้านบาทและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีมหาดไทยด้วยจึงจะสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ไม่เกิน1ไร่ โดยต้องมีการลงทุนและเงินลงทุนที่แน่นอนส่วนการได้ถือครองในกรณีที่ไม่ใช่นักลงทุนที่นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า40ล้านบาทนั้นกฎหมายไม่เปิดช่องให้คนต่างด้าวประเภทอื่นทำได้ครับ(พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน)

แต่ทางแก้ก็ยังมี โดยในพระราชบัญญัติอาคารชุดฉบับที่3พ.ศ.2534นั้นได้กำหนดให้อาคารชุดแต่ละอาคารนั้นจะมีคนต่างด้าวถือครองในกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน49เปอร์เซ็นต์ของห้องชุดทั้งหมด หมายความว่าในการที่จะให้คนต่างด้าวถือครองห้องชุดได้นั้น คนต่างด้าวจะต้องถือครองได้ไม่เกิน49%ก็คือถ้าอาคารชุดนั้นมี100ห้องคนต่างด้าวก็จะถือครองได้ไม่เกิน49ห้องนั่นเองครับ แต่ในช่วงนี้กฎหมายยังให้สิทธิพิเศษอีกก็คือ ภายในระยะเวลา5ปี นับแต่วันที่28 เมษายน พ.ศ.2542จนถึง 27เมษายน พศ.2547กฎหมายได้อนุโลม ให้คนต่างด้าวมีสิทธิ์ถือครองกรรมสิทธิ์ในห้องชุดทั้งหมดของเนื้อที่อาคารชุดทั้งหมดที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นไว้ แต่ต้องกระทำไปในใต้เงื่อนไขดังนี้

1
อาคารชุดดังกล่าวต้องตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเทศบาล หรือเขตราชการอื่น๐ที่กฎกระทรวงกำหนด
2 ที่ดินที่ตั้งอาคารชุดรวมกับที่ดินทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุดแล้วต้องไม่เกิน5ไร่
คนต่างด้าวที่มีสิทธิ์ถือครองห้องชุดได้
- คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยคนเฃ้าเมือง คือมีใบสำคัญแสดงถิ่นที่อยู่(Residence Permit) และสามารถใช้เงินบาทซื้อห้องชุดได้
- คนต่างด้าวที่มาในไทยตามกฎหมายว่าด้วยการลงทุน คือมีเงินไม่ต่ำกว่า10ล้านนำมาลงทุนและต้องไดรับอนุญาตในการลงทุนจาก BOI และการเข้าเมืองต้องได้รับอนุญาตจาก ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
3.คนต่างด้าวอื่นทั่วไปรายอื่น(มีถิ่นที่อยู่ชั่วคราว)
4.คู่สมรสของคนต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่าจะหย่าหรือไม่ก็ตาม
5.บุตรของคนต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทย




ระเบียบปฏิบัติและหลักฐานที่ใช้ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดหลักฐานที่ใช้

1.เอกสารหนังสือเดินทางที่แสดงสัญชาติของคนต่างด้าว
2.ใบสำคัญถิ่นที่อยู่(ตม.11 ตม.15 ตม.17) ซึงออกโดยสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่สถานีตำรวจท้องที่ที่คนต่างด้าวอยู่เพียงอย่างเดียว
3.หนังสือรับรองว่าเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในไทยตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากBOI สำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาด้วยตามกฎหมายการลงทุน
4.หลักฐานในการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชยืที่ได้รับอนุญาต(ธต.3)ซึ่งลงลายมือชื่อประทับตราธนาคาร
5.หลักฐานแบบสำแดงเงินตราต่างประเทศที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรหรือหลักฐานใบรับซื้อเงินตราต่างประเทศซึ่งออกให้โดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
6.หลักฐานการถอนเงินสกุลต่างประเทศจากบัญชีเงินฝากในประเทศไทยหรือหลักฐานการถอนเงินบาทจากบัญชีเงินฝากในหรือนอกประเทศ
นี่ก็คือวิธีการขั้นต้นในการให้คนต่างด้าวมีสิทธิ์ในการครอบครองมีกรรมสิทธิ์แม้จะไม่สามารถที่จะครอบครองที่ดินได้แต่ก็สามารถมีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดไว้อยู่อาศัยได้

การขอได้มาซึ่งที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว

เอกสารตัวอย่างนี้ สำหรับเพื่อนๆที่แต่งงานกับชาวต่างชาติและเอกสารในเมืองไทยเปลี่ยนเป็นมีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติเรียบร้อยแล้ว (ผู้ที่แต่งงานในเมืองไทย)ต้องใช้เอกสารตัวนี้ และพาสปอร์ต ของสามี และทะเบียนสมรส เพิ่มเติมจากเอกสารเดิมที่ต้องใช้ด้วยค่ะ หลักๆคือ ดังนี้ค่ะ

1. ทะเบียนบ้าน
2.บัตรประชาชน
3.ทะเบียนสมรส
4.หนังสือรับรอง ยินยอมจากสามีชาวต่างชาติ พร้อมราบระเอียดของที่ดิน
5.พาสปอร์ต ของสามี
6.สามีต้องไปเซ็นต์รับรอง ต่อเจ้าหน้าที่ ที่ดิน ในเขตนั้นๆด้วยค่ะ




การขอได้มาซึ่งที่ดินหรือห้องชุดของคนต่างด้าว และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคนต่างด้าว



๑. กรณีคนต่างด้าวขอได้มาซึ่งที่ดิน ปัจจุบันคนต่างด้าวสามารถที่จะขอได้มาซึ่งที่ดินในประเทศไทยได้ใน ๓ กรณี คือ
๑.๑ โดยการขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ตามมาตรา ๙๓ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเมื่อรวมกับที่ดินที่มีอยู่แล้ว (หรือยังไม่เคยมี) ต้องไม่เกินจำนวนที่จะพึงมีได้ ตามความในมาตรา ๘๗ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เช่น ที่อยู่อาศัยไม่เกิน ๑ ไร่
๑.๒ คนต่างด้าวที่ได้นำเงินมาลงทุนตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท อาจขอให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินหนึ่งไร่ และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยในการขอได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ตามนัยมาตรา ๙๖ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
๑.๓ คนต่างด้าวอาจขอได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.๒๕๒๐ ซึ่งสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โทร. ๐-๒๕๓๗-๘๑๑๑ หรือพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ.๒๕๒๒
โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร ๐-๒๒๕๓


ข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมที่ดินนะคะ




ที่มา    ::  http://prinkotakoon.blogspot.co.uk/2012/07/blog-post_3054.html    ;    
                สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น